ทำไมค่าไฟโรงงานคุณถึงแพง?
วิธีประเมินและลดค่าไฟโรงงานเบื้องต้น
ไม่ผิดเลยครับ ที่เราจะไม่เข้าใจว่าทำไมค่าไฟถึงแพง?
ค่าพลังงานไฟฟ้าคืออะไร? ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าคืออะไร? พาวเวอร์แฟคเตอร์คือะไร? มิเตอร์แบบ TOD TOU คืออะไร? ไม่ผิดจริงๆ ครับที่พวกเราจะไม่เข้าใจความเป็นไปต่างๆ บนบิลค่าไฟของเรา รวมไปถึงว่าทำไมค่าไฟแต่ละเดือนเดี๋ยวถูกเดี๋ยวแพงไม่เท่ากัน เพราะไม่เคยมีใครอธิบายปัจจัยต่างๆ เหล่านี้...จากที่ผมได้มีโอกาสเข้าประเมินพื้นที่และค่าไฟของโรงงานหลายแห่งในช่วงที่ผ่านมา พบว่าก็ไม่ค่อยมีใครเข้าใจ ไม่ต่างจากคุณเช่นกัน
เอาล่ะครับ...เรามาทำความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟแพงไปพร้อมๆ กัน
ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อค่าไฟมีด้วยกัน 5 รายการหลักๆ คือ
1. ค่าพลังงานไฟฟ้า (energy charge) คิดตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า(ตามหน่วย หรือ kWh ) ที่ใช้ในแต่ละเดือน ตามประเภทของอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ ...อันนี้ ก็เป็นค่าไฟที่เราใช้ๆ กันแต่ละเดือนใช้ไปกี่หน่วย หน่วยละกี่บาทก็แล้วแต่ประเภทของโรงงานและมิเตอร์ ก็คิดแบบตรงไปตรงมา
2. ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (demand charge) คิดจากความต้องการพลังไฟฟ้า (kW ) เฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดของช่วงเวลาในแต่ละเดือน ตามประเภทของอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ ...ค่าไฟส่วนนี้จะแพงเมื่อการผลิตหรือความต้องการไฟแกว่งมากๆ เช่น อยู่ๆ ในแต่ละวันหรือแต่ละอาทิตย์จะมีช่วงเร่งผลิตมากระจุกตัวอยู่ในช่วงนี้ทำให้ต้องใช้ไฟมาก หรืออย่างโรงงานตัดเหล็กที่ใช้ไฟมากในแค่บางช่วงจังหวะการผลิต อย่างนี้ก็จะทำให้ให้ไฟแกว่ง ซึ่งการที่ไฟแกว่งทำให้ต้นทุนการซัพพลายไฟฟ้าของการไฟฟ้าสูง เขาก็เลยมาชาร์จค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ถ้าใครใช้ไฟแกว่งมากก็แน่นอนว่าปัจจัยนี้จะมีส่วนอย่างมากในการทำให้โรงงานมีค่าไฟแพง
3. ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า กิจการขนาดกลาง, ใหญ่ และเฉพาะอย่าง โดยผู้ใช้ไฟฟ้ามีค่า PF ล้าหลัง หากใน รอบเดือนมีความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอ็กทีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็น kVAR เกิน 61.97 เปอร์เซ็นต์ ของพลังไฟฟ้าแอ็กทีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด เมื่อคิดเป็น kW เฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่า PF. ในอัตรา กิโลวาร์ละ 14.02 บาท ...ค่าไฟส่วนนี้จะแพงเมื่ออุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน โหลดไฟไม่พอเหมาะกับกำลังไฟที่ใช้ อาจต้องมีการปรับปรุง Capacitor Bank ของโรงงานงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายก้อนนี้หากสูงเกินไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วค่านี้จะไม่ค่อยสูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับสองปัจจัยด้านบน
4. ค่าบริการรายเดือน ค่าบริการนี้ก็จะเป็นมาตรฐานที่ประกาศจากการไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันก็จะอยู่ที่ 312.24 บาทสำหรับกลุ่มโรงงานประเภท 3 และ 4
5. ค่า Ft (fuel adjustment charge) เป็นการปรับค่าไฟฟ้าตามราคาเชื้อเพลิง การจัดส่ง ต้นทุนการผลิต การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงของความต้องการไฟฟ้า...ซึ่งก้อนนี้ก็จะเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือความควบคุมของเรา
เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างบิลค่าไฟของโรงงาน 3 แห่ง ด้านล่างนี้เพื่อให้ทุกท่านพิจารณาเปรียบเทียบกันครับ
โรงงาน A
โรงงาน B
โรงงาน C
สังเกตุนะครับว่าจะมีโรงงานเดียวจากใน 3 แห่งนี้ที่คำว่า on peak / off peak อยู่ในบิลค่าไฟ คือโรงงาน A หรือหมายความว่าโรงงาน A เป็นโรงงานเดียวที่มีมิเตอร์ไฟแบบ TOU (Time of Use Rate) ในขณะที่อีกสองแห่งเป็นมิเตอร์แบบปกติ ซึ่งการมีมิเตอร์ที่แตกต่างกันก็ทำให้ค่าไฟแตกต่างกันครับ
เรามาดูอัตราค่าไฟของมิเตอร์สองแบบนี้กัน...
อัตราค่าไฟประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง อัตราปกติ
อัตราค่าไฟประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง อัตรา TOU
จากตัวอย่าง โรงงาน B มีการเดินสายการผลิตตั้งแต่เวลา 03.00 -17.00 ในขณะที่โรงงาน C มีการเดินสายการผลิตตั้งแต่เวลา 07.00 -19.00
มิเตอร์ของโรงงาน B และ C เป็นอัตราประเภท 3 แบบปกติทั้งคู่ ซึ่งหมายความว่าไม่ว่าโรงงานนี้จะผลิตกะกลางคืนหรือกลางวัน ค่าพลังงานไฟฟ้าของโรงงานจะอยู่ที่ 3.1471 บาททั้งสิ้น แต่ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าจะอยู่ที่ 196.26 บาท ซึ่งเป็นเหตุผลที่ Demand charge ของโรงงานนี้จึงทำให้ค่าไฟแพง
หากปรับมาเป็นมิเตอร์แบบ TOU ทั้งโรงงาน B และ C จะมีค่า Demand Charge ที่ลดลงจากหน่วยละ196.26 บาท ลงมาเหลือหน่วยละ 132.93 บาท หรือทำให้ค่า Demand Charge ลงลงมาได้ถึง 32% นอกจากนี้โรงงาน B ยังได้เปรียบขึ้นจากการที่มีการผลิตอยู่ในช่วง off peak ตั้งแต่เวลา 03.00 - 09.00 ใน 6 ชั่วโมงนี้ อัตราค่าไฟจะลดลงจาก 3.1471 บาท มาเป็น 2.6037 บาท หรือลดลงมาได้ราว 17% อย่างไรก็ตาม ค่าไฟในช่วงเวลา 09.00 - 17.00 จำนวน 8 ชั่วโมงนี้ อัตราค่าไฟจะเพิ่มขึ้นจาก 3.1471 บาท มาเป็น 4.1839 บาท แต่หากโรงงาน B มีระบบโซล่าเซลล์ช่วยในการผลิตไฟใช้ในช่วงกลางวันจะทำให้ค่าไฟที่ต้องจ่ายในส่วน on peak นี้เหลือไม่ถึงครึ่ง
สำหรับโรงงาน C เนื่องจากการผลิตอยู่ในช่วง on peak เป็นส่วนใหญ่ แม้ปรับมิเตอร์เป็น TOU จะลดค่า Demand Charge ไปได้ถึง 32% จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะติดโซล่าเซลล์ซัพพอร์ทการผลิตในช่วงกลางวันเพื่อลดค่าไฟที่ใช้ และนอกจากนี้อาจยังควรต้องปรับกะการทำงานให้เดินสายการผลิตในช่วงเที่ยงมากขึ้น และลดการผลิตหลัง 16.00 ลงไปเพื่อใช้งานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้มากที่สุด
สำหรับโรงงาน A ซึ่งเป็นประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ ซึ่งได้ติดมิเตอร์แบบ TOU ไว้แล้ว จะเห็นว่าค่า Demand Charge ไม่สูงเมื่อเทียบกับค่าไฟทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีเตอร์แบบ TOU จะมีค่าไฟในช่วง on peak (09.00 - 22.00 น.) ที่สูงถึง 4.1839 บาท ตามรูปด้านล่าง
อัตราค่าไฟประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ อัตรา TOD
อัตราค่าไฟประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่ อัตรา TOU
ดังนั้น จึงเห็นว่าพลังงานไฟฟ้าราวๆ 1 ล้านบาทของโรงงาน A นั้นควรอย่างยิ่งที่จะหาพลังงานไฟฟ้าอย่างโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิิตได้เองมาเพื่อช่วยสนับสนุนการผลิต มีการติดตั้งระบบมอนิเตอร์การใช้พลังงานของโรงงาน และลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
จากตัวอย่างข้่างต้นทั้ง 3 ตัวอย่าง จะเห็นการที่โรงงานมีค่าไฟแพงเป็นสิ่งที่บริหารจัดการได้จากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจปัจจัยต่างๆ ในบิลค่าไฟที่จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟที่แพง การปรับมิเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานของโรงงาน การปรับขนาดโหลดและอุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อลดค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ การมีระบบผลิตพลังไฟฟ้า self-consumption แบบโซล่าเซลล์เพื่อซัพพอร์ทไฟฟ้าในช่วงกลางวัน การปรับพฤติกรรมการใช้ไฟและวางแผนการผลิตที่ดี มีระบบมอนิเตอร์การใช้พลังงานไฟฟ้าที่ดี การมีทีมที่ปรึกษาด้านพลังงานที่ดีเพื่อวางกลยุทธ์ในการลดค่าไฟ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยลดปัญหาค่าไฟแพงของโรงงานคุณได้อย่างมีนัยสำคัญ
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ให้ทีมเข้าประเมินพื้นที่เพื่อนำเสนอ
โทร. 099-3966542 (ศิลป์ธรณ์)
Line id: solarmatter
FB: www.facebook.com/solarmatter
Comments